วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โรคดวงตาเสื่อม ตาต้อ ต้อหิน ประสาทตาเสื่อม วิธีดูแลรักษาดวงตา


ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก..ดวงตาคือหน้าต่างของดวงใจ หากเกิดปัญหาอะไรขึ้นกับดวงตาย่อมเสมือนกับชีวิตที่มืดบอด หาทางออกไม่เจอ

ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปสอบถามโดยตรง : ศูนย์สุขภาพจังหวัดอุบลราชธานี By หมอพืชอานนท์  090-9569093,089-6889946 ไอดี ไลน์ : 0896889946 เปิดรับตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ

http://sawarosfarm.blogspot.com/2015/11/blog-post_11.html
รู้ทันต้อหิน


โรคต้อหินนับเป็นภัยเงียบที่ทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยตาบอดเป็นอันดับ 2 รองจากโรคต้อกระจก เนื่องจากโรคต้อหินจะไม่แสดงสัญญานหรืออาการบ่งชี้ใด ๆ ในช่วงแรจึงอาจทำให้ผู้ป่วยละเลยในการรักษาดูแลสุขภาพของดวงตา
ปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคต้อหินทั่วโลกถึง 70 ล้านคนโดยเกือบ 10 % ของผู้ป่วยหรือประมาณ 6.7 ล้านคน ต้องตาบอดหรือสูญเสียการมองเห็นโดยสิ้นเชิง ในประเทศไทยมีรายงานอุบัติการณ์ของโรคประมาณ 2.5-3.8 % หรือคิดเป็นจำนวนผู้ป่วย ประมาณ 1.7-2.4 ล้านคน การรู้จักและเข้าใจโรคต้อหินรวมถึงผลที่ตามมาจะสามารถช่วยป้องกันและลดอุบัติการณ์ของการสูญเสียการมองเห็นได้
มารู้จักกับโรคต้อหิน
โรคต้อหินเป็นโรคของดวงตาชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากความเสื่อมของประสาทตาซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เชื่อมระหว่างตากับสมอง (Optic Nerve) หรือการที่เส้นประสาทตาถูกทำลาย สาเหตุมักจะเกิดจากความดันสูงในลูกตา ซึ่งมีผลทำให้สูญเสียการมองเห็นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเริ่มต้นจากบริเวณรอบนอกก่อน ทำให้ผู้ที่เป็นโรคยังสามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ตรงหน้าได้อย่างชัดเจนแต่จะมองไม่เห็นวัตถุที่อยู่ทางด้านข้าง และเมื่อเป็นมากขึ้น ลานสายตาก็จะค่อยๆแคบลงตาบอดไปในที่สุดหากไม่ได้รับการรักษา โรคต้อหินสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยอัตราการเกิดโรคจะสูงขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
โรคต้อหินเกิดขึ้นได้อย่างไร
ในสภาวะปกติน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา (Aqueous Humor) จะมีการไหลเวียนเข้าและออกจากลูกตาอย่างสมดุลเมื่อเกิดการอุดตันบริเวณทางออกทำให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไม่สามารถไหลออกได้ทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้นซึ่งอาจเป็นไปอย่างช้า ๆ โดยไม่ก่อให้เกิดอาการปวดตาใด ๆ เลยหรืออาจเพิ่มสูงขึ้นอยบ่างเฉียบพลันจนทำให้มีอาการปวดตาอย่างมากก็ได้แล้วแต่ชนิดของโรคต้อหินและความดันที่สูงขึ้นนี้จะทำให้ประสาทตาเสื่อม
ประเภทของโรคต้อหิน
โรคต้อหินมีหลายชนิดแต่ที่สำคัญมี 2 ชนิด คือโรคต้อหินแบบมุมเปิด (Open-angle glaucoma) และโรคต้อหินแบบมุมปิด (Angle-closure glaucoma)
1. โรคต้อหินแบบมุมเปิด (Open-angle glaucoma) เป็นต้อหินชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากลักษณะการอุดตันที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างช้า ๆ จึงไม่มีอาการเจ็บปวดแต่ประสาทตาจะถูกทำลายไปทีละน้อย การสูญเสียการมองเห็นจะเกิดขึ้นเมื่อเป็นโรคนี้ในระยะเวลานาน และมักเป็นกับตาทั้งสองข้าง
2. โรคต้อหินแบบมุมปิด (Angle-closure glaucoma) โรตต้อหินชนิดนี้พบได้บ่อยในคนเอเชีย ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนตัวและเปลี่ยนตำแหน่งของตาดำ (lris) เข้ามาปิดขวางทางออกของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา โรคต้อหินแบบมุมปิดยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ แบบเรื้อรัง (Chronic angle-closure glaucoma) และแบบเฉียบพลัน (Acute angle-closure glaucoma ) โรคต้อหินมุมปิดแบบเรื้อรังมักไม่มีอาการเพราะการดำเนินของโรคมีลักษณะค่อยๆเป็นไปทีละน้อย การสูญเสียการมองเห็นจะเกิดขึ้นเมื่อเป็นโรคนี้ในระยะเวลานาน โรคต้อหินแบบมุมปิดนี้ถ้าเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดจะเรียกว่าโรคต้อหินชนิดเฉียบพลันและต้องการรับการรักษาอย่างเร่งด่วนเนื่องจากมีลักษณะความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างทันทีทันใด ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตาอย่างรุนแรง มองเห็นแสงรัศมีรอบ ๆ ดวงไฟ คลื้นไส้ อาเจียน ปวดศรีษะ และตามัวลงอย่างรวดเร็ว ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต้อหินคือผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีสายตาสั้นมาก ผู้ที่เคยผ่าตัดหรือได้รับอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา การใช้ยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์มาเป็นเวลานาน รวมถึงผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคต้อหิน
การวินิจฉัยโรคต้อหิน
• Tonometry เป็นการวินิจฉัยที่ไม่เจ็บเพื่อวัดความดันในลูกตา
• Ophthalmoscopy เป็นการใช้เครื่องมือเพื่อช่วยให้มองเห็นเส้นประสาทในลูกตา
• Visual Field Testing เป็นการวัดประสิทธิภาพของลานสายตาซึ่งสัมพันธ์กับความเสื่อมของประสาทตา
• Gonioscopy เป็นการตรวจช่องทางการไหลของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา
การรักษาโรคต้อหิน
1. การรักษาโรคต้อหินมีหลายวิธีเช่นการใช้ยาหยอดตาการรับประทานยาการผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์และการผ่าตัดชนิดอื่นๆ เป้าหมายของการรักษาโรคต้อหินคือการลดความดันภายในลูกตาซึ่งจะช่วยลดการทำลายเส้นประสาทตาแต่ไม่สามารถทำให้เส้นประสาทตาที่สูญเสียไปแล้วกลับมามองเห็นดังเดิมได้
2. ยาหยอดตาช่วยลดความดันลูกตาโดยไปลดการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาหรือช่วยเพิ่มอัตราการไหลของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาออกจากตา
3. การผ่าตัดจะเป็นการช่วยลดความดันในลูกตาโดยทำช่องทางให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไหลออกกว้างขึ้นหรือทำช่องทางใหม่ให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไหลออกได้ปัจจุบันการใช้ยารักษาต้อหินด้วยยาหยอดตาเป็นวิธีที่ได้ผลดีและเป็นที่นิยมมากที่สุด
http://sawarosfarm.blogspot.com/2015/11/blog-post_11.html
การมีส่วนร่วมในการรักษาโรคต้อหิน
ใช้ยาหยอดตาหรือรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อวัดความดันลูกตาเป็นระยะๆ เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของโรคปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อพบผลข้างเคียงที่เกิดการใช้ยา หัวใจสำคัญในการรักษาโรคต้อหินคือความสม่ำเสมอในการพบแพทย์และความต่อเนื่องในการใช้ยาเพราะเป้าหมายสำคัญของการรักษาคือการถนอมประสาทตาและความสามารถในการมองเห็นเท่าที่มีอยู่ให้ดีที่สุด
เทคนิคในการหยอดยาให้ถูกวิธี
หยอดยาให้ลงบนเปลือกตาล่างโดยเงยหน้าขึ้นแล้วดึงเปลือกตาล่างลง ระวังอย่าให้ปลายขวดยาโดนลูกตา
หลับตาไว้ประมาณ 1-2 นาที และใช้นิ้วชี้กดเบาๆที่หัวเพื่อไม่ให้ยาไหลออก ถ้าต้องหยอดยามากกว่าหนึ่งขวดให้เว้นระยะเวลาหยอดห่างกันอย่างน้อย 10 นาที
โรคต้อหิน...ภัยเงียบที่ป้องกันได้ แม้ว่าโรคต้อหินจะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่การตรวจพบและการรักษาโรคต้อหินตั้งแต่ระยะแรกๆจะช่วยป้องกันการเสื่อมหรือลดการทำลายประสาทตาเพื่อไม่ให้เกิดภาวะตาบอดได้ปัจจุบันนี้ความก้าวหน้าทางการแพทย์ สามารถช่วยวินิจฉัยและควบคุมโรคนี้ได้หากได้รับการตรวจจากจักษุแพทย์แต่เนิ่น ๆ การไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจเช็คสุขภาพดวงตาอย่างน้อยทุกๆปีเพื่อตรวจวัดความดันลูกตาความสามารถในการมองเห็นของตาความผิดปกติของประสาทตาอัตราการไหลเข้าออกของของเหลวในตารวมทั้งการตรวจการทำงานของจอตาสิ่งเหล่านี้จะสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคต้อหินรวมถึงโรคอื่นๆที่เกี่ยวกับดวงตาได้ดีที่สุดหรือหากตรวจพบความผิดปกติก็ทำให้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที การรู้จักและเข้าใจโรคต้อหินรวมถึงผลที่ตามมาจะสามารถช่วยป้องกันและลดอุบัติการณ์ของการสูญเสียการมองเห็นได้

http://sawarosfarm.blogspot.com/2015/11/blog-post_11.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น